วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โครงการหมู่บ้านรักษ์ป่าลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

E-mailPrintPDF

โครงการหมู่บ้านรักษ์ป่าลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (หมู่บ้านสีเขียว) จังหวัดพัทลุง
ความเป็นมา :
 
        ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมพื้นที่  3  จังหวัด ได้แก่  
                   1.จังหวัดพัทลุงทั้งจังหวัด 
                   2.จังหวัดสงขลา 12 อำเภอ
                   3.จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอ
        มีพื้นที่ประมาณ 8,627 ตร.กม. ประกอบด้วยลุ่มน้ำย่อย  8  ลุ่มน้ำ  การใช้ประโยชน์จากพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติที่ผ่านมาเกินศักยภาพของงทรัพยากร  จนขาดความสมดุลทำให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ได้แก่  ป่าไม้บริเวณต้นน้ำ  ป่าชายเลน  และพื้นที่ป่าพรุถูกบุกรุกและทำลาย   ความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์และพืชลดลงอย่างรวดเร็ว  เกิดการตื้นเขินของทะเลสาบ  เป็นต้น  ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสงขลา พัทลุงและนครศรีธรรมราชที่ล้อมรอบทะเลสาบสงขลา   อันเป็นทะเลสาบ น้ำ เป็นทะเลสาบธรรมชาติแห่งเดียวของประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากร อันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งวัฒนธรรมเก่าแก่ และเป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองกว่า 1,500,000 คน ในพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 8,643   ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,289,375 ไร่ สามารถแบ่งออกเป็น 2  ส่วน คือ
          1. ส่วนที่เป็นพื้นดิน ครอบคลุมจังหวัดพัทลุงทั้งจังหวัด จังหวัดสงขลา 12 อำเภอ คือ อ. เมืองสงขลา  อ.หาดใหญ่ อ.สะเดาอ.รัตภูมิอ.สทิงพระอ.สิงหนครอ.กระแสสินธุ์อ.ควนเนียง,อ.นาหม่อม อ.บางกล่ำ,      อ.คลองหอยโข่ง  และจังหวัดนครศรีธรรมราช  2  อำเภอ คือ   อ.ชะอวด   และ อ.หัวไทร
            2. ส่วนที่เป็นพื้นน้ำ อยู่ในเขตพื้นที่  2  จังหวัด  คือ  จังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุงแบ่งออกเป็น 4   ตอน ใหญ่ ๆ ดังนี้
                1.ทะเลน้อย อยู่ตอนบนสุด มีพื้นที่ประมาณ  28  ตารางกิโลเมตร  ความลึกเฉลี่ยประมาณ  1.5 เมตร  เป็นทะเลสาบน้ำจืด โ ดยแยกส่วนกับทะเลสาบ แต่มีคลองนางเรียมเชื่อมต่อแหล่งน้ำทั้งสองเข้าด้วยกัน   ทะเลน้อยมีความหลากหลายของพืชพรรณในสังคมพืช   ป่าพรุขนาดใหญ่  และเป็นแหล่งนกน้ำนานาพันธุ์  ทั้งที่เป็นนกประจำถิ่นและที่อพยพมาจากแหล่งอื่น
                2.ทะเลหลวง  (ทะเลสาบสงขลาตอนบน)   เป็นส่วนบนของทะเลสาบสงขลาถัดจากทะเลน้อยลงมาจนถึงเกาะใหญ่อำเภอกระแสสินธ์ เป็นห้วงน้ำกว้างใหญ่ที่สุด มีพื้นที่ประมาณ 458.80   ตารางกิโลเมตร   ความลึกประมาณ  2  เมตร ทะเลหลวงส่วนนี้ในอดีตเป็นท้องน้ำจืดขนาดใหญ่ แต่ในบางปี   พบว่ามีการรุกตัวของงน้ำเค็มค่อนข้างสูงในช่วงฤดูแล้ง
                3.ทะเลสาบ (ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง)   อยู่ถัดจากทะเลหลวงลงมา    ตั้งแต่บริเวณแนวเกาะใหญ่ทางใต้ไปบรรจบกับเขตอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง อำเภอสทิงพระจนถึงบริเวณตำบลปากรอ อำเภอสิงหนคร  จังหวัดสงขลา   มีพื้นที่ประมาณ  377.20   ตารางกิโลเมตร   ความลึกประมาณ  2  เมตร     เป็นส่วนของทะเลสาบที่มีเกาะมากมาย  อาทิ  เกาะสี่ เกาะห้า  (ซึ่งเป็นเกาะที่มีสัมปทานรังนกนางแอ่น)เกาะหมาก  เกาะนางคำพื้นที่ทะเลสาบส่วนนี้เป็นการผสมผสานของน้ำเค็มและน้ำจืด   จึงมีระบบนิเวศเป็นทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย ในช่วงที่เป็นน้ำจืดจะมีพืชน้ำขึ้นปกคลุมโดยทั่วไป
               4.ทะเลสาบสงขลา (ทะเลสาบสงขลาตอนล่าง)   เป็นส่วนของทะเลสาบตอนนอกสุดที่เชื่อมต่อกับอ่าวไทย มีพื้นที่ประมาณ 182 ตารางกิโลเมตร ความลึกประมาณ 1.5 เมตร ยกเว้นช่องแคบติดต่อกับทะเลอ่าวไทย ซึ่งเป็นช่องเดินเรือ  มีความลึกประมาณ  12 - 14   เมตร     ทะเลสาบส่วนนี้เป็นบริเวณที่มีน้ำเค็ม แต่บางส่วนในช่วงฤดูจะเป็นน้ำกร่อย และได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้นน้ำลง บริเวณทางตอนใต้มีพื้นที่ป่าชายเลนปกคลุมลุมโดยทั่วไป   แต่ปัจจุบันถูกเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่เลี้ยงกุ้ง
 
 การแบ่งประเภทการใช้ที่ดินรอบทะเลสาบสงขลา  แบ่งออกเป็น  5  กลุ่มหลัก  คือ
          1.พื้นที่อยู่อาศัย จะมีการใช้ที่ดินประเภทนี้ประมาณร้อยละ 2.3 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งประกอบด้วยบริเวณที่เป็นชุมชนเมือง ย่านการค้า หมู่บ้านต่าง ๆ รวมทั้งสถานที่ราชการและย่านอุตสาหกรรม เช่น ในเขตที่ราบรอบทะเลสาบสงขลา   พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของชุมชนเมืองขนาดใหญ่   ได้แก่  เทศบาลนครหาดใหญ่   เทศบาลเมืองสงขลา เทศบาลเมืองพัทลุง ตลอดจนชุมชนชนบท ส่วนการใช้ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมจะรวมตัวอยู่ในบริเวณชุมชนเมือง โดยเฉพาะในเขตอำเภอหาดใหญ่และอำเภอเมืองสงขลา
          2. พื้นที่เกษตรกรรมการใช้ที่ดิน  ประเภทนี้มีประมาณร้อยละ 62.4  ของพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบ สงขลาประกอบด้วยพื้นที่สวนยางพารา พื้นที่นาข้าว  สวนผลไม้ ปาล์มน้ำมัน และนากุ้ง    ซึ่งพื้นที่ปลูกข้าว จะอยู่บริเวณที่ราบกับบริเวณที่ราบลุ่มรอบ ๆ ทะเลสาบ ส่วนบริเวณที่ราบเชิงเขาระหว่างที่ราบ  กับเทือกเขาจะเป็นพื้นที่สำหรับปลูกยางพารา สำหรับสวนผลไม้จะกระจายอยู่ทั่วไปบริเวณรอบ ๆ ที่อยู่อาศัยของชุมชนในชนบท    ส่วนพื้นที่นากุ้งจะอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลตอนบนของพื้นที่ลุ่มน้ำ ได้แก่ อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราชและอำเภอระโนด   จังหวัดสงขลา รวมทั้งบริเวณรอบทะเลสาบสงขลาตอนล่างด้วย  
          3.พื้นที่ป่าไม้   ทั้งในลักษณะของป่าบกและป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด มีอยู่ประมาณร้อยละ 18.3 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ป่าบกประมาณ  5  ส่วน และพื้นที่ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืดประมาณ ส่วน  โดยพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่ได้รับการจัดการในลักษณะอุทยานแห่งชาติ   วนอุทยาน  และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พื้นที่ป่าส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นป่าดงดิบชื้น   เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตลอดทั้งปี
          4.พื้นที่แหล่งน้ำ  ทั้งแหล่งน้ำตามธรรมชาติ และแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น มีอยู่ประมาณร้อยละ 12.6  ของพื้นที่ลุ่มน้ำ
          5.พื้นที่อื่น ๆ ได้แก่ บริเวณที่เป็นทุ่งหญ้า ไม้พุ่มเตี้ย และบริเวณเหมืองแร่ร้างจะมีอยู่ประมาณร้อยละ 4.4 ของพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
          รัฐบาลได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา  และเห็นถึงความจำเป็นที่
ต้องมีการเร่งรัดแก้ไขปัญหาอย่างถูกทิศทาง  คณะรัฐมนตรีมีมติ  เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545  ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง  รับผิดชอบแก้ไขปัญหาพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาให้คืนความอุดมสมบูรณ์โดยรักษาสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  และประชาชนในพื้นที่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุข   และเมื่อวันที่  17  ธันวาคม  พ.ศ. 2545  คณะรัฐมนตรีมีมติ   ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นหน่วยงานการจัดทำแผนบูรณาการงบประมาณการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ปี พ.ศ. 2547-2550 กรมป่าไม้จึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านรักษ์ป่าลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา(หมู่บ้านสีเขียว)   ซึ่งเป็นโครงการภายใต้แผนงบประมาณในเชิงบูรณาการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา  โดยส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
      
 
 
วัตถุประสงค์โครงการ :
 
            1.เพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ดิน และน้ำ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถให้อำนวยประโยชน์ต่อราษฎรในหมู่บ้าน
            2.เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ (พื้นที่สีเขียว) ในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาของงจังหวัดพัทลุงเป็นการป้องกันนการกัดเซาะ และการชะล้างพังทลายของหน้าดินและแก้ไขปัญหาการตื้นเขิน และความเสื่อมโทรมของทะเลสาบสงขลา
            3.เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและราษฎรในท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกและความร่วมมือที่ดีในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน         
  
พื้นที่ดำเนินงาน :
 
          พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ในพื้นที่จังหวัดพัทลุงทั้งจังหวัด
  
ระยะเวลาการดำเนินการ :
        
         ดำเนินการตั้งแต่วันที่ ตุลาคม 2550 – 30 กันยายน 2551
   
ที่มาของข้อมูล :
 
http://www.forest.go.th/